ภาษีอะไรบ้างที่จะหักจากเงินเดือนที่ได้รับในญี่ปุ่น

ช่วงสามสี่ปีก่อนได้มีโอกาสไปทำล่ามฝึกอบรมคนไทยที่มาฝึกงานที่ญี่ปุ่น ซึ่งที่นี่จะเรียกคนต่างชาติที่มาทำงานที่ญี่ปุ่นในลักษณะนี้ว่า คนต่างชาติที่มาฝึกงานทางเทคนิค 外国人技能実習生実習生 โดยมากก็จะเรียกกันสั้นๆ ว่า จิดชูเซ 

จิดชูเซนี้จะว่าจ้างเข้ามาทำงาน 3-5 ปี เงินเดือนต่อเดือนนี้ที่ได้ก็ไม่ได้ต่ำกว่ามาตรฐานของคนญี่ปุ่นที่ทำงานในญี่ปุ่น  

จิดชูเซเหล่านี้จะเปรียบเหมือนกับนักเรียนฝึกงาน ตามกฏหมายแล้วจะได้ค่าตอบแทนขั้นต่ำและจะไม่มีการทำโอที แต่ก็มีบางบริษัทให้ทำโอที ซึ่งถ้าทางจิดชูเซ (นักเรียนหรือนักศึกษาฝึกงาน) นั้นยอมตกลงด้วยก็จะได้ทำ บางบริษัทจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นเงินสด ซึ่งในช่วงของการฝึกงานนี้จะถือว่าไม่ใช่ค่าจ้างแรงงาน แต่จะเป็นค่าตอบแทนในการมาฝึกงาน และตามกฏหมายจะไม่โดนหักภาษีเงินได้ 

แต่พอพ้นสภาพการเป็นนักเรียนฝึกงาน ซึ่งส่วนใหญ่ก็ 1-3 ปี จากนั้นก็เปลี่ยนสภาพเป็นพนักงานฝึกทักษะเทคนิคในการทำงาน จะทำงานโอทีได้ และจะต้องจ่ายค่าสวัสดิการสังคมต่างๆ เหมือนคนญี่ปุ่น

ทีนี้มาดูค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่าย

ค่าที่พักใน 1 ปีแรก จะขอเล่าเฉพาะนายหน้าที่เคยไปทำงานล่ามให้ที่ในญี่ปุ่น ที่นี่เขาจะมีหอพักให้ จะอยู่รวมกันหลายชาติ จะมี จีน ไทย เวียดนาม ในปีแรกนี้จะได้เงินตอบแทนแค่พออยู่ได้ในญี่ปุ่น จิดชูเซในปีแรกจะต้องเรียนภาษาญี่ปุ่นและอบรมเรื่องการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น เรื่องกฏหมายแรงงาน กฏจราจร กฎระเบียบในการทำงานโดยทั่วๆ ไป

ส่วนในปีที่สองและปีต่อๆ ไปซึ่งเป็นปีที่จิดชูเซแต่ละคนจะต้องแยกย้ายกันไปอยู่กับบริษัทต่างๆ ที่จ้างเรามาทำงาน เพราะฉะนั้นทางบริษัทนายจ้างก็จะหาที่พักให้ในทำเลที่ใกล้และสดวกในการเดินทางไปทำงาน โดยมากจะเดินทางโดยการเดินหรือจักรยาน ค่าเช่าที่พักนั้นก็แล้วแต่บริษัท บางบริษัทมีหอพักหรืออพาร์ตเมนต์ให้ ก็อาจจะเสียค่าเช่าไม่แพงมาก หากไม่มีหอพักของบริษัททางบริษัทนายจ้างก็จะไปติดต่อเช่าอพาร์ทเมนต์ให้ ค่าเช่าก็แล้วแต่สถานที่และขนาดของห้อง ทางน้องๆ ที่เป็นจิดชูเซก็จะหารแบ่งค่าเช่ากัน 

ค่าน้ำค่าไฟ เก็บตามจริงจากมิเตอร์ น้องๆ จิดชูเซ ก็จะหารแบ่งเท่าๆ กัน 

ค่าโทรศัพท์ และพ็อกเก็จวายฟาย ส่วนใหญ่น้องๆ จิดชูเซจะไปติดต่อหามากันเอง โดยบางคนก็จะมีรุ่นพี่ที่เคยมาแล้ว คอยแนะนำกันต่อๆ มาว่าให้ไปติดต่อร้านขายของไทยที่ไหนยังไง อันนี้อิสระของแต่ละคนจัดการเองเลย แต่ก็สามารถขอให้นายหน้าที่ญี่ปุ่นช่วยเหลือ พาไปซื้อหาติดต่อพูดคุยกับร้านขายโทรศํพท์ได้ อันนี้เป็นหน้าที่ตามกฏหมายที่เขาต้องเช่วยเหลือ 

ส่วนบริษัทที่ให้บริการมือถือ และวายฟายในญี่ปุ่นก็จะมีหลากหลาย อันนี้จะขอมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไป

ต่อไปจะเป็นพวกภาษีและประกันสังคมต่างๆ คนต่างชาติที่มาทำงานในญี่ปุ่นก็จะต้องจ่ายภาษีและทำประกันสังคมเหมือนกับคนญี่ปุ่น รวมถึงการส่งเงินเข้ากองทุนเงินบำเน็จบำนาญ ด้วย ประกันที่คนทำงานจะต้องจ่ายคือ

ประกันอุบัติเหตุจากการทำงาน เรียกง่ายๆ สั้นๆ ว่า โลไซโฮะเค็น 労災保険

ประกันนี้จะมีไว้เพื่อคุ้มครองเวลาเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน เช่น ทำงานอยู่เครื่องจักรตัดนิ้ว เคยมีเคสนึงเกิดอุบัติเหตุไฟลุกทั้งตัว อันนี้ก็จะเรียกเคลมได้จากประกันนี้ ตอนนั้นมีการเรียกล่ามกะทันหันกันเลยทีเดียว เพราะจะมีการคุยกันเรื่องจะเอาเนื้อเยื่อมาเพาะเลี้ยงเพื่อแปะลงไปในผิวหนัง อันนี้ก็ขอเก็บไว้ก่อน ไว้จะเล่าทีเดียวในเรื่องเกี่ยวกับล่ามโรงพยาบาล เดี๋ยวเล่ายาว

ประกันสุขภาพสวัสดิการสังคม ฉะคาอิเค็นโคโฮะเค็น 社会健康保険

ประกันนี้จะมีไว้เมื่อเวลาที่เจ็บป่วย เราไปหาหมอโดยที่ประกันจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ 70 เปอร์เซ็นต์ ก็เหมือนกัน 30 บาท รักษาทุกโรคของไทย

กองทุนเงินบำเน็จบำนาญ โคเซเน็นคิน 厚生年金

กองทุนนี้จะคำนวณจากรายได้ต่อปี การจ่ายเงินเข้ากองทุนนี้ทางฝ่ายบริษัทนายจ้างก็จ่ายสบทบกองทุนนี้ด้วยเหมือนกันในจำนวนเงินที่เท่ากันกับที่จิดชูเซต้องจ่าย เมื่อเริ่มจ่ายเงินเข้ากองทุน ทุกคนจะได้รับสมุดเงินบำเน็จบำนาญ พอครบกำหนดสัญญาจ้าง 3 ปี ทางจิดชูเซจะได้เงินที่ตัวเองจ่ายไปคืนแต่ไม่ครบ 100 เปอร์เซ็นต์ของเงินที่จ่ายไป และจะต้องทำการเรียกเงินคืนหลังจากกลับไปที่เมืองไทยแล้ว โดยมีกำหนดระยะเวลาภายในสองปี ถ้าเกินสองปีไปแล้วจะไม่สามารถเรียกเงินคืนได้

            

สมุดเงินบำเน็จบำนาญ

ภาษีรายได้บุคคลธรรมดา เรียกภาษาญี่ปุ่นว่า โชะโทคุเซ 所得税

ภาษีรายได้นี้ก็ไม่ต่างจากเมืองไทยคนที่มีรายได้ก็ต้องจ่าภาษีรายได้ซึ่งมีอัตราแบบขั้นบันได้เหมือนกับที่เมื่องไทย คือคนที่รายได้มากก็เสียภาษีในอัตราที่มาก 

จากประสบการณ์ที่ทำงานในญี่ปุ่นมา เรียกได้ว่าเสียภาษีทุกเดือนๆ ละ 30000 กว่าเยน ตรงนี้ก็จะต่างกันไปเพราะแต่ละคนจะได้เงินเดือนไม่เท่ากัน 

ความคิดเห็น